นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แผนงานในปีงบประมาณ 66 (1 ต.ค.65-30 ก.ย.66) บริษัทจะใช้เงินลงทุนรวม 5,000-8,000 ล้านบาท เน้นขยายธุรกิจที่ไม่ใช่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นหลักเนื่องจากมีความใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากที่สุด โดยเฉพาะในด้านแพลตฟอร์มดิจิทัล ระบบขนส่งกระจ่ายสินค้า โกดังสินค้า ธุรกิจด้านสุขภาพ และสินค้าใหม่ๆ รวมไปถึงการเปิดให้บริการสถานีชาร์ตรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) รองรับเทรนด์พลังงานทดแทนในรูปแบบคอมมูนิตี้มอลล์ ที่รวบรวมธุรกิจร้านอาหารในเครือเข้าไปเปิดให้บริการควบคู่ไปด้วย คาดว่าจะเริ่มเห็นในปี 66 นี้ จากเบื้องต้นได้ทดลองติดตั้งหัวชาร์จรถอีวีที่ร้านเคเอฟซีแล้ว 2 แห่งจะเปิดบริการในปลายปี 65 นี้
ทั้งนี้ สาเหตุที่ใช้เงินลงทุนน้อยลง เนื่องจากที่ผ่านมาบริษัทได้เข้าซื้อธุรกิจต่างๆ มามากพอสมควรแล้ว ดังนั้นทิศทางต่อจากนี้จึงมุ่งเน้นขยายธุรกิจที่มีอยู่ให้มีผลลัพธ์จากการลงทุน และสร้างการเติบโตมากยิ่งขึ้น จากช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ65 บริษัทมีรายได้รวม 207,922 ล้านบาท เติบโต 8.2% ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของ 3 ปีที่ผ่าน และมีกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดบัญชี 39,110 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.7% โดยแบ่งเป็นธุรกิจแอลกอฮอล์ 75-80% และไม่ใช่แอลกอฮอล์ 20-25%
“ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาไทยเบฟได้นำธุรกิจฝ่าฟันอุปสรรคจากการแพร่ระบาดโควิด-19 มาได้สำเร็จ และยังมีผลประกอบการที่แข็งแกร่งทั้งในด้านการเงินและการดำเนินงาน 9 เดือน ท่ามกลางผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งปัจจุบันบริษัทยังมีมูลค่าตามราคาตลาดหรือมาร์เก็ตแคปเป็นอันดับ 10 ในเอเชียด้วยมูลค่า 5,126 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเป้าหมายในอนาคตต้องจะเป็นอันดับ 1 และเพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เปิดหมายแพสชั่น 2025 ตามพันธกิจ ไทยเบฟจะมุ่งให้คงามสำคัญต่อการเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง”คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สำหรับการรับมือความท้าทายทั้งสถานการณ์ค่าเงินบาทอ่อนและภาษีสินค้าฟุ่มเฟือยนั้น กระทบต่อธุรกิจของไทยเบฟเล็กน้อย จากการนำเข้าวัตถุดิบ อาทิ มอลล์สำหรับผลิตเบียร์ และอะลูมิเนียมสำหรับทำกระป๋อง ส่วนสุราใช้วัตถุดิบในประเทศเกือบทั้งหมด และได้มีการสั่งซื้อวัตถุดิบล่วงหน้าประมาณ 1 ปี ส่วนระยะยาวหากส่งผลกระทบจนไม่สามารถแบกรับต้นทุนได้อาจจำเป็นต้องขึ้นราคาสินค้าไปในทิศทางเดียวกับการปรับขึ้นภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ของวงการ และเป็นแนวทางปกติของสรรพสามิตรที่จะดำเนินการขึ้นภาษีในช่วงที่ราคาสินค้ามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เพื่อบริหารจัดการรายได้ของรัฐ แต่ต้องจับตาอัตราภาษีใหม่ที่จะนำมาใช้ เพราะราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องให้สถานการณ์ เงินเฟ้อขยายตัวมากขึ้น.