นายวิฑูรย์ แนวพานิช นายกสมาคมการค้าเครือข่ายแท็กซี่ไทย เปิดเผยว่า ได้ทำหนังสือถึงนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เพื่อขอให้แก้ปัญหาเรื่องแท็กซี่ไม่เพียงพอต่อการให้บริการผู้โดยสารในปัจจุบัน เนื่องจากช่วงก่อนเกิดโควิด-19 เมื่อปี 62 มีแท็กซี่ให้บริการในระบบกว่า 80,000-90,000 คัน แต่ปัจจุบันเหลือแท็กซี่ให้บริการประมาณ 60,000 คันเท่านั้น ส่วนอีก 20,000-30,000 คัน หายไปจากระบบ บางส่วนช่วงโควิด-19 ได้จอดแท็กซี่ไว้ไม่ได้วิ่งงานประมาณ 2-3 ปี เพราะไม่มีผู้โดยสาร เมื่อโควิด-19 คลี่คลาย ผู้ประกอบการไม่มีต้นทุนซ่อมบำรุงสภาพรถให้พร้อมนำกลับมาใช้งานเหมือนเดิม ขณะที่บางส่วนรถแท็กซี่หมดอายุการใช้งาน 9 ปี ต้องปลดระวาง ผู้ประกอบการไม่กล้าลงทุนเปลี่ยนแท็กซี่คันใหม่ เพราะขาดความมั่นใจในการประกอบอาชีพ
ปัจจุบันเศรษฐกิจฟื้นตัว และสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ผู้โดยสารกลับมาเดินทางมากขึ้น ทำให้แท็กซี่มีรายได้ยังไม่หักค่าใช้จ่ายปกว่า 2,000 บาทต่อคันต่อวัน แม้จำนวนผู้โดยสารเพิ่ม แต่พบว่าแท็กซี่ที่ให้บริการบนท้องถนนในเขตกรุงเทพฯ ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ เรียกว่ารุนแรงมากสุดในรอบ 31 ปีที่ให้บริการแท็กซี่มา ตั้งแต่ปี 2535-ปี 2566 โดยเฉพาะผู้ที่ใช้บริการที่สนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ ต้องรอแท็กซี่นาน 1-2 ชม. สมาคมฯ รับทราบปัญหาและไม่นิ่งนอนใจจึงทำเรื่องไปยัง ขบ. เพื่อให้แก้ปัญหาแท็กซี่ขาดแคลน ต่อมา ขบ. ประสานมายังสมาคมฯ ให้นำแท็กซี่ไปให้บริการที่สนามบิน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ยังไม่เพียงพออยู่ดี เพราะความต้องการของผู้ใช้บริการมากขึ้น แต่จำนวนแท็กซี่ที่น้อยลงทุกวัน
นายวิฑูรย์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ยังพบว่าตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565-ปัจจุบัน กว่า 6 เดือน ผู้โดยสารร้องเรียนมายังสมาคมฯ เกี่ยวกับการใช้บริการแท็กซี่ที่เจอคนขับรถแท็กซี่มีพฤติกรรมปฏิเสธผู้โดยสาร และเรียกค่าโดยสารเพิ่ม เกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์แท็กซี่ในภาพรวมทั้งหมด และอนาคตยากต่อการแก้ไข แม้ที่ผ่านมาจะขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการและคนขับรถแท็กซี่มาโดยตลอดในเรื่องดังกล่าว แต่ไม่ทำให้ปัญหาลดลง นับแต่จะรุนแรงมากขึ้น หากไม่รับการแก้ไขอย่างจริงจังคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ดังนั้นขอเสนอแนวทางแก้ปัญหาให้ ขบคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. พิจารณาจำนวน 4 ข้อดังนี้ 1.เพิ่มระบบการคำนวณค่าโดยสารแท็กซี่มิเตอร์ผ่านระบบแอปพลิเคชันที่ได้มาตรฐานตาม ขบ. กำหนด ไม่ว่าจะเป็นการใช้บริการผ่านแอป หรือโบกเรียกทั่วไป 2.จัดอบรมคนขับรถแท็กซี่ให้ครบทุกคนและต่อเนื่องทุกปี ซึ่งเป็นข้อกำหนดของ ขบ. พร้อมออกใบรับรองวิชาชีพ หลังผ่านการอบรมของทุกปี 3.เตรียมการพัฒนาระบบแท็กซี่ เพื่อรองรับรถยนต์ที่ให้พลังงานไฟฟ้าหรือเชื้อเพลิงอื่นๆ ที่จะนำมาใช้เป็นรถแท็กซี่มิเตอร์ในอนาคต และ 4.จัดประชุมระหว่างผู้ประกอบการแท็กซี่กับ ขบ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเทคโนโลยี และการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ