สภาหอการค้าไทย สถาบันอาหาร และสภาอุตสาหกรรมฯ รายงานตัวเลขการส่งออกสินค้าอาหารของไทยไตรมาสแรกปี 2566 มีมูลค่า 346,379 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 10% จากความต้องการสินค้าอาหารในตลาดโลก ความกังวลว่าอาหารจะขาดแคลน ภัยสงคราม ความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงการเปิดประเทศของจีน
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้สนับสนุนให้อุตสาหกรรมอาหารขยายตัวได้ 2.1% ด้วยมูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท ในปีนี้
อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าส่งออกหลักหลายรายการหดตัวลง ส่วนใหญ่ประสบปัญหา 2 ด้าน
- วัตถุดิบมีปริมาณลดลง ราคาปรับตัวสูงขึ้น เช่น แป้งมันสำปะหลัง กุ้ง สับปะรด
- ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในกลุ่มประเทศพัฒนาอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น
ส่งผลทำให้สินค้าที่พึ่งพิงตลาดหลักดังกล่าวหดตัวลง เช่น อาหารสัตว์เลี้ยง เครื่องปรุงรส เป็นต้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ปริมาณใช้ไฟฟ้าพีกช่วงหยุดยาว จาก 3 เครื่องใช้ไฟฟ้า แอร์ พัดลม ตู้เย็น
ลดค่าไฟ FT งวด พ.ค.-ส.ค. 2566 เป็น 4.70 บาทต่อหน่วย
ต้นทุนการผลิตแพงต่อเนื่อง โดยเฉพาะ "ค่าไฟ"
นอจากนี้ ภาคเอกชน กำลังเผชิญกับต้นทุนการผลิตที่แพงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งปัญหาค่าไฟฟ้าที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะอาหารแช่แข็ง ห้องเย็น จึงเรียกร้องให้รัฐบาลคิดค่าไฟฟ้าให้ตรงกับต้นทุน อย่าบวกเพิ่มให้เป็นภาระแก่ผู้ประกอบการจนอยู่ไม่ไหว เพราะต้นทุนการผลิตพลังงานไฟฟ้าในตลาดโลกต่างลดลงมาแล้ว แต่ต้นทุนค่าไฟฟ้าของเราแพงกว่าเวียดนาม อินโดนีเซีย
ห่วงนโยบายหาเสียง จับต้องไม่ได้
ขณะที่นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ หอการค้าไทย กล่าวถึงนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองต่าง ๆ ว่ายังไม่เห็นนโยบายที่จับต้องได้ เห็นมีนโยบายเยอะมาก ทุกพรรคพูดได้ แต่ทำได้จริงหรือไม่ยังน่ากังวล
โดยทั้ง 3 องค์กร ได้มีข้อเสนอถึงพรรคการเมืองที่จะเข้ามาเป็นรัฐบาลใหม่ ว่าให้สนับสนุนเกษตรแปลงใหญ่ ให้สหกรณ์ และ ธุรกิจเอสเอ็มอี เข้าถึงนวัตกรรม แหล่งเงินทุน สร้างระบบการผลิตสินค้าเกษตร-อาหารที่ยั่งยืน และผลักดันให้ไทยเป็นประเทศที่อยู่ในกลุ่มรายได้สูงด้วยอุตสาหกรรมอาหาร