เป็นที่ทราบกันดีว่า สปีชีส์ของมนุษย์ (โฮโม เซเปียนส์) มีต้นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา แต่หากถามว่า บรรพบุรุษยุคแรกสุดของเราเดินทางออกจากทวีปและกระจายตัวไปทั่วโลกได้อย่างไรนั้น ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากในหมู่นักโบราณคดี
แต่ล่าสุด มีการค้นพบฟอสซิล 2 ชิ้นในถ้ำทางตอนเหนือของลาว ที่บ่งชี้ว่า โฮโม เซเปียนส์ อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตั้งแต่เมื่อประมาณ 86,000 ปีก่อน
การค้นพบนี้ท้าทายแนวคิดเดิมที่ว่า เส้นทางของมนุษย์มีการกระจายไปทั่วโลกในลักษณะเป็นเส้นตรง และเกิดขึ้นในระลอกเดียวเมื่อประมาณ 50,000-60,000 ปีที่แล้ว
รศ.คีรา เวสต์อะเวย์ จากมหาวิทยาลัยแม็กควารี หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “มีโอกาสที่การอพยพในช่วงแรกนี้จะไม่ประสบความสำเร็จ แต่สิ่งนี้ไม่ได้เปลี่ยนข้อเท็จจริงที่ว่า โฮโม เซเปียนส์ ได้มาถึงภูมิภาคนี้แล้วในเวลานี้”คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
พบ “ฟอสซิลแมลงโบราณ” ในรัสเซีย อายุมากกว่า 280 ล้านปี!
สืบจากฟอสซิล ชนพื้นเมืองอเมริกันอาจมีบรรพบุรุษมาจากจีน
ล้างทฤษฎีต้นกำเนิดมนุษย์เดิม! ฟอสซิลมนุษย์โบราณแอฟริกาใต้เก่าแก่กว่าที่คาด
การวิเคราะห์ดีเอ็นเอของประชากรมนุษย์ในยุคปัจจุบันได้สนับสนุนสมมติฐานที่ว่า มนุษย์สมัยใหม่ในยุคแรก ๆ เดินทางออกจากแอฟริกาเมื่อประมาณ 50,000-60,000 ปีก่อน และนักโบราณคดีคิดว่า บรรพบุรุษในยุคแรก ๆ ของเราน่าจะเดินทางเลาะตามชายฝั่งและเกาะต่าง ๆ ผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังออสเตรเลีย
อย่างไรก็ตาม การค้นพบซากฟอสซิลมนุษย์ที่มีอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ ในจีนและเลอแวนต์ (เอเชียตะวันตก แถบเมดิเตอร์เรเนียน) แสดงให้เห็นว่า เรื่องราวการเดินทางไปทั่วโลกของมนุษย์มีความซับซ้อนกว่าที่คิด
เวสต์อะเวย์กล่าวว่า “การย้ายถิ่นเมื่อ 50,000-60,000 ปีที่แล้ว ซึ่งก่อให้เกิดกลุ่มยีนในปัจจุบันของเราอาจไม่ใช่การเคลื่อนย้ายครั้งแรก อาจมีการย้ายถิ่นก่อนหน้านี้ที่ไม่ประสบความสำเร็จ”
สำหรับฟอสซิลที่พบในลาว 2 ชิ้น ถูกพบในถ้ำผาลิง ประกอบด้วยชิ้นส่วนของกระดูกขาและส่วนหนึ่งของกะโหลกส่วนหน้า มีอายุประมาณ 68,000-86,000 ปี โดยชิ้นส่วนกระดูกขามีความเก่ากว่า
นอกจากการค้นพบล่าสุดแล้ว ยังมีการค้นพบกระดูกกราม 2 ชิ้น กระดูกซี่โครง 1 ชิ้น และซากศพอีก 1 ชิ้นที่ถ้ำนี้ และลักษณะทางกายภาพของซากศพทั้งหมดบ่งชี้ว่า เป็นของมนุษย์ยุคใหม่ตอนต้น
การค้นพบฟอสซิลนี้ไม่เพียงแต่ตั้งคำถามเกี่ยวกับไทม์ไลน์ของการอพยพของมนุษย์ในยุคแรก ๆ เท่านั้น แต่ยังท้าทายทฤษฎีเดิมที่ว่า การเดินทางครั้งแรกของมนุษย์ในภูมิภาคนี้จะอยู่ตามแนวชายฝั่งรอบ ๆ และเกาะต่าง ๆ เช่น เกาะสุมาตรา ฟิลิปปินส์ และเกาะบอร์เนียว
แต่พื้นที่สูงใจกลางแผ่นดินของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เคยเป็นป่าทึบที่ระดับความสูงประมาณ 1,100 เมตร และห่างจากทะเลอย่างน้อย 300 กิโลเมตร
“สิ่งที่น่าสนใจของการวิจัยนี้คือ ที่ตั้งของถ้ำผาลิง เรารู้ว่าสายพันธุ์มนุษย์มีแนวโน้มที่จะเคลื่อนตัวไปตามหุบเขาแม่น้ำในแผ่นดิน แต่ตำแหน่งนี้ยืนยันข้อสงสัยของเราว่า โฮโม เซปียนส์ ในยุคแรกมีความสามารถในการปรับตัวและกระจายกันไปในพื้นที่ป่าบนที่สูงเร็วกว่าที่คาดไว้มาก” เวสต์อะเวย์อธิบาย
ในขณะเดียวกัน ที่ถ้ำงูเห่า ซึ่งอยู่ใกล้กับถ้ำผาลิง ก็พบฟันที่เชื่อว่าเป็นของ เดนิโซวาน (Denisovan) มนุษย์ในยุคแรกเริ่ม อย่างไรก็ตาม ฟันซี่นั้นมีอายุมากกว่าฟอสซิลในถ้ำผาลิงถึง 70,000 ปี จึงไม่มีหลักฐานว่ามนุษย์ทั้งสองสายพันธุ์ผสมพันธุ์หรืออยู่ร่วมกัน
ไม่เพียงแต่ที่ลาวเท่านั้น ในพื้นที่อื่นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็พบร่องรอยของมนุษย์โบราณเช่นกัน อาทิ ศิลปะบนหินในถ้ำในอินโดนีเซีย หรือฟอสซิลมนุษย์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น โฮโม ฟลอเรซิเอนซิส และโฮโม ลูโซเนนซิส ถูกพบบนเกาะในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์
ทีมวิจัยคาดว่า จะมีการขุดพบฟอสซิลมนุษย์จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้นอีกในอนาคต ซึ่งอาจจะช่วยไขปริศนาการย้ายถิ่นฐานของบรรพบุรุษมนุษย์ของเราได้อย่างชัดแจ้ง
เรียบเรียงจาก CNN
ภาพจาก Kira Westaway