จากกรณีดราม่า “ไข่ต้ม” ที่เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์แบบเรียนหนังสือภาษาไทยพาที ระดับชั้น ป.5 ซึ่งมีเนื้อหา กินไข่ต้มครึ่งซีกเหยาะน้ำปลา หรือข้าวเปล่าคลุกน้ำผัดผักบุ้ง ทำให้ตัวละครในหนังสือมีความสุข ถือเป็นความพอเพียง เห็นคุณค่าชีวิต
โดยดราม่าดังกล่าวถูกปลุกขึ้น เมื่อ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โพสต์ภาพพร้อมข้อความบนเพจเฟซบุ๊กถึงแบบเรียนของเด็กวิชาภาษาไทย ว่า “เราควรปล่อยให้เด็กไทยยอมรับสภาพ การกินข้าวเปล่าคลุกน้ำปลา จริง ๆ หรือ?”
และกลายเป็นดราม่าร้อนทางดารเมืองขึ้น เมื่อ ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ได้โพสต์คลิปขณะลูกชายกินข้าวกับไข่ต้ม ซึ่งเป็นเมนูที่ลูกชายชอบกิน พร้อมพูดว่า “วันนี้เราก็กินอาหารเช้ากัน ง่ายๆ สบายๆ ไม่ต้องกินหรูอยู่สบายทุกมื้อนะ เดี๋ยวเรากินไข่ต้มกัน” “ไข่ต้มนี่มีประโยชน์นะลูก เป็นโปรตีนนะ อร่อยมากเลยนะ”
โดยหลังนายชัยวุฒิ ได้มีการโพสต์คลิปดังกล่าวออกไป ได้มีชาวโลกออนไลน์เข้ามาแสดงความเห็นเป็นจำนวนมาก รวมทั้งอินฟูลเอนเซอร์ชื่อดัง อย่าง สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ที่ออกมาระบุว่า “อย่าดูแค่วันนี้เขาให้ลูกกินอะไร แต่จงดูว่าในทุกวันเขาให้อะไรแก่ลูกของเขากิน และเที่ยวสอนลูกคนอื่นว่าอย่างไร”
เช่นเดียวกับ เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ โพสต์ว่า “ก่อนจะสอนคนอื่นให้พอเพียง ด้วยการกินไข่ต้ม ควรสอนลูกหลานให้ปอกเปลือกไข่เป็นก่อน”
และยิ่งกลายเป็นดราม่าร้อนขึ้นไปอีก เมื่อ แพรรี่-ไพรวัลย์ วรรณบุตร อินฟูลเอนเซอร์ชื่อดัง ได้โพสต์ให้ความเห็นถึงประเด็นไข่ต้มด้วยเช่นกันว่า “ดิฉันเคยโตมาด้วยการกินไข่ต้ม 1 ลูก แบ่งกัน 3 คน ดิฉันจึงอยากบอกว่า การกินหลากหลายจำเป็นมากค่ะ และการขาดสารอาหารตั้งแต่เด็ก ไม่ใช่เรื่องโรแมนติกเลย จบ”
"วิโรจน์" ตั้งคำถามหนังสือ ป.5 สอนเด็กจำนนโชคชะตา
กินไข่เท่าไรถึงเหมาะสม หลังมีดรามา "ชัยวุฒิ" โพสต์คลิปสอนลูกชายพอเพียง
ล่าสุด นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้กล่าวถึงกรณีดังกล่าว หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นสำหรับนักเรียนเพื่อฝึกทักษะและทำให้เกิดการรักการอ่าน เน้นทักษะการอ่าน เขียน ฟัง ดู ผสานกับความเข้าใจลักษณะภาษาไทย เพื่อนำไปสู่การเรียนด้วยตัวเอง กระตุ้นความสนใจ ความสามารถ พัฒนาทักษะทางภาษา เหมาะแก่วัย ชั้นปี และเต็มตามศักยภาพ เป็นพื้นที่การเชื่อมโยงการเรียนรู้ ปลูกฝังวัฒนธรรมทางภาษา ความเป็นไทย ความเป็นคนดีของสังคม โดยเนื้อหาและภาพที่เป็นประเด็นอยู่ในหนังสือภาษาไทย ภาษาพาที ชั้น ป.5 บทที่ 9 ชีวิตมีค่า เป็นเรื่องราวของเด็กหญิงกำพร้าชื่อ ข้าวปุ้น ถูกนำมาทิ้งไว้ที่หน้าบ้านเด็กกำพร้า ที่นี่เด็กๆ ได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรัก และสอนให้เป็นคนดี คิดดี ทำดี ตั้งใจเรียนเพื่อจะได้มีอาชีพและช่วยเหลือตนเองได้ในอนาคต เด็กๆ ดำเนินชีวิตได้ด้วยเงินบริจาค จึงต้องอยู่อย่างพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อ ใช้จ่ายเฉพาะที่จำเป็น ดูแลซึ่งกันและกัน ทุกคนได้เรียนหนังสือและตั้งใจ เมื่อโตขึ้นมีงานทำ จะได้ช่วยหาเงินมาดูแลน้องๆ ต่อไปคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“กรณีที่เป็นประเด็นดรามา คนโพสต์ตีความคลาดเคลื่อน ลักษณะใช้ตรรกะวิบัติ เอาเรื่องชีวิตประจำวัน มาวิพากษ์วิจารณ์เรื่องที่แต่งขึ้น ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน ถูกชักจูงจากการอ้างการสื่อสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิด สร้างความเสียหายต่อความน่าเชื่อถือของหนังสือเรียน ซึ่งมีลิขสิทธิ์และนำมาใช้กับนักเรียนด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ แต่เกิดกรณีแบบนี้เป็นการด้อยค่า ดูหมิ่นเกลียดชัง ทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อแบบเรียน และคุณภาพด้านวิชาการของเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นวงกว้างได้” ขณะที่นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยอมรับเสียงวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาในตำราเรียนภาษาพาที ป.5 เตรียมให้คณะกรรมการ สำนักวิชาการ หารือกับผู้เขียน แก้ไขเพิ่มเติม เนื้อหาเพื่อการสื่อสารทำความเข้าใจให้ชัดเจนเรื่องโภชนาการอาหารใหม่ ในประเด็นที่ถูกวิจารณ์ว่า ให้เด็กกินข้าวไข่ต้มซีกเดียวคลุกน้ำปลา เป็นอาหารที่ไม่ครบ 5 หมู่ โดยจะมีการเติมข้อความ ย้ำว่าเป็นเพียงการยกตัวอย่างเท่านั้น